HomeAbout |  PartnersNews UpdateKnowledge | Media & DownloadActivitiesVolunteersContact  
 
 
 
 
 
 
 

เสวนา: หนุนพลังเยาวชนด้วยกองทุน สื่อสร้างสรรค์
ณ Outdoor เวทีสวนพุทธธรรม
วันที่ 7 พฤษภาคม 2554 เวลา 17.00-19.00 น.

 
วัตถุประสงค์
เพื่อเปิดพื้นที่และโอกาสในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความจำเป็นในการมีกองทุนสื่อสร้างสรรค์สำหรับสังคมไทย ซึ่งอยู่ในช่วงของการผลักดันให้กองทุนดังกล่าวให้เกิดขึ้นจริง
 
หลักคิด/ แนวความคิดของกิจกรรม
สภาวะสังคมไทยในปัจจุบันสื่อทีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนอย่างมาก แม้ในสังคมจะมีรูปแบบของสื่อที่หลากหลายในการเลือกรับข้อมูล หากแต่สิ่งที่ปรากฏนั้นกลับพบว่ามีพื้นที่ของสื่อในการนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์และสร้างสรรค์ต่อเด็กนั้นมีน้อยมาก ในความเป็นจริงก็พบอีกว่าเด็กใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับสื่อทั้งโทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต เวลา ที่อยู่กับสื่อเหล่านี้มีการมากกว่าอยู่กับพ่อแม่ ข้อมูลที่สื่อเหล่านี้นำเสนอนั้นก็มักปรากฏภาพของความรุนแรง ไม่สร้างสรรค์ จึงเป็นความกังวลใจสำหรับการบริโภคสื่อของเด็ก ที่ไม่มีตัวเลือกมากพอที่จะรับชม การเสวนาเกี่ยวกับกองทุนสื่อสร้างสรรค์ จึงเป็นพื้นที่ในการแสดงออกทางความคิด ว่าถึงเวลาหรือยังที่สังคมไทยจะให้ความสำคัญกับสื่อที่สร้างสรรค์และมีประโยชน์อย่างแท้จริง
 
รูปแบบ/เนื้อหาหลัก
รูปแบบของการจัดกิจกรรมเป็นการจัดเสวนา โดยมีพิธีกรเป็นผู้ดำเนินรายการ เริ่มจากการแนะนำผู้เข้าเสวนาซึ่งมีทั้งหมด 6 คน ได้แก่ ครูหยุย คุณปุย คุณสิทธิพงษ์ (พิธีกรรายการคนค้นคน) พี่ซุป (พิธีกรรายการซุปเปอร์จิ๋ว) น้องฟาง (ตัวแทนเยาวชนกลุ่มลูกหว้า จ.เพชรบุรี) น้องบี (ตัวแทนเยาวชนกลุ่มต้นกล้าฝัน จ.น่าน) จากนั้นพิธีก็จะตั้งคำถาม เป็นประเด็นสำหรับการการแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างสมาชิกที่อยู่บนเวทีเสวนา เมื่อแต่ละตอบคำถามหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเสร็จก็จะมีการสรุปประเด็นและเชื่อมโยงสู่คำถามอื่นๆ ต่อไป เนื้อหาหลักที่นำเสนอนั้นจะเป็นการบอกเล่า สะท้อนความคิดเห็นสำหรับความจำเป็นในการมีกองทุนสื่อสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนระหว่างกลุ่มผู้ผลักดันกองทุน ผู้ผลิตสื่อโทรทัศน์ที่สร้างสรรค์รายการสำหรับเด็กและครอบครัว รวมถึงกลุ่มเยาวชนที่มีทำกิจกรรมเกี่ยวกับการผลิตสื่อในท้องถิ่นของตน
 
 
เครื่องมือ/กระบวนการนำเสนอ
การจัดเสวนาในครั้งนี้เครื่องมือที่นำมาใช้ในการนำเสนอคือ การใช้การถามตอบแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างสมาชิกที่ถูกเชิญขึ้นไปบนเวที ซึ่งแต่ละคนก็จะมีความเกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์สื่อสมาชิกผู้เข้าร่วมเสวนาในครั้งนี้ถือเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการ ทำสื่อและการทำงาน เกี่ยวการสร้างสรรค์เด็กและเยาวชน เรื่องราวและข้อคิดเห็นที่นำเสนอจึงเกิดขึ้นจากประสบการณ์การทำงานและความรู้สึกที่มีต่อการสร้างสรรค์สื่อเพื่อเด็กและเยาวชน
 
ผลที่เกิดขึ้น
 
ความสนใจของผู้เข้าร่วมฟังเสวนาในครั้งนี้ โดยภาพรวมนั้นผู้เข้าร่วมมีความตั้งใจฟังเป็นอย่างดีกระทั่งจบการเสวนา ทั้งนี้ในระหว่างการเสวนานั้นก็จะมีการเดินผ่านไปมาของผู้คน บ้างก็หยุดฟังสักพักแล้วก็เดินจากไป เนื่องจากพื้นที่จากจัดเสวนาเป็นพื้นที่เปิดในสวน จึงมีผู้เข้าร่วมฟังเสวนาในครั้งนี้มีประมาณ 30-40 คน ลักษณะของผู้เข้าร่วมนั้นจะมีความหลากหลายทั้งเด็กและผู้ใหญ่ การเสวนาในครั้งนี้พิธีกรซึ่งเป็นผู้ดำเนินรายการไม่ได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้ตั้งคำถามเพื่อให้เกิดบรรยากาศของการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนำเสนอความคิดจากผู้เข้าร่วมฟังเสวนา และด้วยลักษณะของประเด็นการเสวนาที่เป็นประเด็นเฉพาะ ซึ่งยังไม่เป็นที่รับรู้และเข้าใจจากสังคมส่วนใหญ่ จึงทำให้บรรยากาศของการซักถามอาจจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ภายในระยะเวลาสั้นๆ รวมถึงลักษณะของการจัดเวทีที่เปิดในพื้นที่โล่ง ทำให้ความสนใจของผู้คนจากความต่อเนื่อง ดังนั้นจึงไม่สามารถประเมินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ได้จากการตั้งคำถามและคำตอบที่จะเกิดขึ้นได้ หากแต่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิกผู้เสวนาที่อยู่บนเวที จึงเป็นภาพที่ปรากฏชัดมากกว่า ทั้งนี้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เกิดขึ้นก็สามารถสื่อและส่งข้อมูลที่เกิดขึ้นมายังผู้เข้าร่วมเวทีเสวนาครั้งนี้ได้ แม้จะไม่ได้ตั้งคำถาม กลุ่มเป้าหมายในการเสวนาครั้งนี้อาจเป็นเพียงการเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนและผู้คนอื่นๆ ที่สนใจเกี่ยวกับการทำสื่อที่สร้างสรรค์ได้มีพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนความคิด ซึ่งกลุ่มคนที่จะได้รับกำลังใจในการทำงานโดยตรงคือเด็กและเยาวชนที่ทำกิจกรรมเกี่ยวกับการผลิตสื่อ ที่วันนี้สังคมได้เริ่มต้นเห็นความสำคัญเกี่ยวกับการมีกองทุนสื่อสร้างสรรค์เพื่อเป็นพื้นที่ให้คนทำงานเหล่านี้ได้มีโอกาส ในการเรียนรู้จากบุคคลที่ประสบการณ์ รวมถึงยังเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้นำเสนอผลงาน ความคิดเห็นที่อยากจะบอกกล่าวต่อสังคมให้ได้รับรู้กับสิ่งที่ตนคิด
 
ข้อสังเกตเพิ่มเติม

การที่เลือกตัวแทนที่ขึ้นในเสวนาในครั้งนี้ ถือเป็นตัวแทนที่สามารถเป็นตัวอย่างในการสร้างสรรค์สื่อที่เป็นประโยชน์ เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในด้านทำงานและมีแนวคิดที่สอดคล้องเกี่ยวกับการทำสื่อเพื่อเด็ก เยาวชนและครอบครัว ทำให้ประเด็นในการเสวนาสามารถตอบโจทย์ได้อย่างชัดเจน รวมถึงการได้มีพื้นที่สำหรับเด็กและเยาวชนที่ทำกิจกรรมเกี่ยวกับสื่อได้ร่วมเวทีเสวนาดังกล่าวก็จะเป็นสร้างกำลังใจและ รู้สึกมีตัวตนในพื้นที่ของการทำสื่อ ทั้งนี้การมีกองทุนสื่อสร้างสรรค์ก็จะเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่เป็นพื้นที่ของการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนให้กับผู้สนใจ การทำงานได้มีโอกาสพบปะ แลกเปลี่ยน ระหว่างคนที่ประสบการณ์ในวงการโทรทัศน์และกลุ่มเด็ก เยาวชน เป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้สร้างสรรค์สื่อดีๆ ต่อสังคม ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้ - ในการบริโภคและเลือกรับสื่อนั้น เราไม่สมารถควบคุม ห้ามเขาได้ทุกอย่าง สิ่งที่สำคัญก็คือเราต้องให้เขาสามารถคุ้มครองตนเองได้ เป็นข้อคิดที่คุณสุทธิพงษ์ได้ให้ไว้ในช่วงหนึ่งของการเสวนา - กองทุนสื่อสร้างสรรค์ไม่ได้มุ่งเน้นการจัดสรรเงิน แต่มีจุดประสงค์เพื่อเปิดพื้นที่การเรียนรู้ร่วมกันของทุกฝ่ายที่สนใจเกี่ยวกับการสร้างสรรค์เพื่อเด็กและเยาวชนที่เป็นประโยชน์ - การที่สื่อปัจจุบันนำเสนอเรื่องราวที่เป็นความเสี่ยงและไม่สร้างสรรค์ต่อเด็กและเยาวชน เราไม่อากล่าวโทษว่าพ่อแม่ผู้ปกครองไม่มีเวลาและไม่สนใจที่จะดูแลบุตรหลาน หากแต่เราต้องโทษทั้งระบบที่ไม่ใส่ใจและให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ที่มีต่อเด็กและเยาวชน - การมีกองทุนสื่อสร้างสรรค์อาจจะไม่ใช่คำตอบทั้งหมดของการผลิตรายการหรือสื่อที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม เพราะในความเป็นจริงนั้นการผลิตสื่อสร้างสรรค์สามารถผลิตขึ้นได้ อาจจะไม่สมบูรณ์แบบหรือเป็นมืออาชีพ หากแต่สิ่งที่สำคัญคือช่องทางในการนำเสนอสื่อเหล่านี้ เพราะในสังคมปัจจุบันทุกอย่างล้วนต้องการผลประโยชน์ตอบแทน ทางธุรกิจ โดยเฉพาะกับสื่อหลักที่มีอิทธิพลต่อชีวิตผู้คนในปัจจุบัน การต่อสู้และเรียกร้องการเปิดพื้นที่สำหรับสื่อสร้างสรรค์จึงเปรียบเสมือนการต่อสู้ของนักชกที่ต่างน้ำหนัก กลุ่มผู้ผลิตสื่อสร้างสรรค์จึงอาจเป็นเพียงนักชกรุ่นเล็กที่ต้องต่อสู้กับนักชกรุ่นใหญ่ที่มากฝีมือและประสบการณ์

 
  Home  |  About |  Partners  |  News Update  |  Media & Download  |  Activities  |  Volunteers  |  Contact     
 
   
ติดต่อกองเลขานุการจัดงานมหกรรมพลังเยาวชน พลังสังคม ครั้งที่ 2
โทรศัพท์: 02-544-3991 | โทรสาร. 02-544-3896  |   Email: scbfteam@gmail.com