HomeAbout |  PartnersNews UpdateKnowledge | Media & DownloadActivitiesVolunteersContact  
 
 
 
 
 
 
 

นิทรรศการโชว์การทอผ้าของชุมชนโชว์ลีลาศ
ณ station ปฏิรูปการเรียนรู้ (การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง)
วันที่ 7 พฤษภาคม 2554 เวลา 13.00-16.00 น.

 
วัตถุประสงค์
เพื่อนำเสนอวิถีชีวิตของคนในชุมชนนางเลิ้ง
 
หลักคิด/ แนวความคิดของกิจกรรม
นำเสนอวิถีชีวิตเรื่องการทอผ้า ซึ่งเป็นศิลปวัฒนธรรมอย่างหนึ่งภายในชุมชนนางเลิ้ง
 
รูปแบบ/เนื้อหาหลัก
จัดทำนิทรรศการเล่าเรื่องความเป็นมาของชุมชนนางเลิ้งผ่านรูปภาพต่างๆ และจัดให้มีการโชว์การทอผ้า รวมทั้งจัดกิจกรรมให้ผู้เข้าร่วมชมนิทรรศการได้ทดลองทอผ้าด้วยตนเอง
 
 
 
เครื่องมือ/กระบวนการนำเสนอ
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นเด็กๆ ที่มาเข้าร่วมกิจกรรมของเครือข่ายองค์กรต่างๆ ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับซุ้มนิทรรศการการทอผ้า ซึ่งในแต่ละช่วงการสาธิตจะมีเด็กๆ และเยาวชนผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้ามาเยี่ยมชมกิจกรรมการทอผ้าเป็นระยะๆ (แต่บางครั้งก็ไม่มีผู้ที่ให้ข้อมูลอยู่ในซุ้ม) มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมนี้ประมาณ 7-10 คน/รอบการสาธิต ผู้ที่เข้าชมนิทรรศการการทอผ้าส่วนใหญ่ให้ความสนใจวิถีชีวิตของชุมชนเป็นอย่างดี รวมทั้งสนใจวิธีการทอผ้าเป็นอย่างมาก ซึ่งสังเกตเห็นได้จากผู้ที่เข้าชมนิทรรศการส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่อยากทดลองทอผ้ากันแทบทุกคน โดยเฉพาะเด็กๆ ที่อยากเรียนรู้เป็นพิเศษ เนื่องจากมีเครื่องทอผ้าจำลองขนาดเล็กให้ได้ทดลองเล่นและเรียนรู้วิธีการทอผ้า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในกิจกรรมผ่านการทดลองทอผ้า กล่าวคือ ผู้เข้าร่วมชมนิทรรศการจะเริ่มเดินดูรูปภาพที่มีคำบรรยายใต้ภาพถึงความเป็นมาของชุมชนและอาชีพการทอผ้าในชุมชนที่นำเสนออยู่ทางด้านหลังของซุ้มกิจกรรม และหลังจากนั้นจึงได้มามีส่วนร่วมกับกิจกรรมโดยการร่วมแลกเปลี่ยนซักถามผู้ที่ทำการแสดงโชว์การทอผ้าอยู่ว่า การทอผ้ามีวิธีการทำอย่างไร ทำยากไหม และหลังจากนั้นจึงลงมือทดลองทอดผ้าด้วยตนเอง ซึ่งกลุ่มผู้จัดกิจกรรมคือสมาชิกชุมชนนางเลิ้งนั้นเปิดโอกาสให้ผู้ที่เข้าร่วมชมเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมของชุมชนเป็นอย่างมาก ซึ่งเมื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีข้อสงสัยซักถาม ผู้จัดกิจกรรมก็สามารถให้คำตอบแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างชัดเจน สำหรับกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกิจกรรมนี้นั้นเกิดขึ้นระหว่างการแสดงการทอผ้าและการทดลองทอผ้าด้วยตนเอง เนื่องจากผู้เข้าร่วมชมได้ร่วมเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการทอผ้าและลงมือปฏิบัติจริง โดยเฉพาะเด็กๆ ผู้หญิงที่เข้าร่วมนั้นได้ให้ความสนใจและอยากจะเรียนรู้วิธีการทอผ้าอย่างมาก ซึ่งเมื่อมีข้อสงสัยข้องใจเกี่ยวกับการทอผ้าเด็กๆ จะถามผู้ใหญ่ที่ดูแลการทอผ้าทันที ซึ่งผู้ที่ดูแลกิจกรรมนี้ก็ให้ความรู้และคำตอบได้เป็นอย่างดี ทำให้ช่วงเวลาดังกล่าวเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้จัดกิจกรรมและผู้เข้าร่วมผ่านกิจกรรมที่ทำร่วมกัน
 
ผลที่เกิดขึ้น
 
ผู้เข้าร่วมชมนิทรรศการของซุ้มชุมชนนางเลิ้งจะได้รับรู้ความเป็นมาของชุมชนนางเลิ้งและการทอผ้า ซึ่งถือว่าเป็นศิลปวัฒนธรรมแขนงหนึ่งซึ่งยังมีการทำอยู่ในชุมชนนางเลิ้งผ่านภาพต่างๆ ที่เล่าเรื่องราวความเป็นมาของชุมชน และมีการแสดงสาธิตการทอผ้าโดยสมาชิกภายในชุมชนนางเลิ้ง และเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมชมนิทรรศการทั้งเด็กและผู้ใหญ่ได้ทดลองทอผ้าด้วยอุปกรณ์ทอผ้าที่มีการจำลองมาทั้งขนาดเล็กสำหรับเด็ก และขนาดที่ใหญ่ขึ้นสำหรับผู้ใหญ่
 
ข้อสังเกตเพิ่มเติม

การทอผ้าในชุมชนนางเลิ้งที่นำเสนอโดยกลุ่มชุมชนนางเลิ้งนั้น มีความน่าสนใจตรงประเด็นที่ชุมชนนางเลิ้งเป็นชุมชนหนึ่งที่ตั้งอยู่ใจกลางมหานครอันเป็นเมืองหลวงของประเทศไทย ซึ่งวิถีของการใช้ชีวิตของคนในชุมชนโดยรอบนั้นเป็นสังคมเมือง แต่การที่ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านอย่างเช่น การทอผ้า ยังคงมีอยู่ในชุมชนนางเลิ้งนั้นจึงเป็นเรื่องน่าสนใจอย่างยิ่งว่าชุมชนมีกระบวนการในการธำรงรักษาและสืบทอดจนถึงปัจจุบันอย่างไร นิทรรศการมีชีวิตของชุมชนนางเลิ้งมีการนำเสนอกิจกรรมหลายๆ กิจกรรมที่น่าสนใจ แต่เนื่องจากเวลาที่ซ้อนทับกับกิจกรรมอื่นๆ ทำให้มีผู้ให้ความสนใจบางตา และเมื่อแต่ละกิจกรรมทำการแสดงเสร็จสิ้นลงคนที่ดูแลกิจกรรมนั้นๆ ก็ไม่ได้อยู่ในบริเวณที่ทำกิจกรรม เหลือไว้เพียงอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมเท่านั้น ซึ่งผู้สังเกตเห็นว่าอย่างน้อยน่าจะมีผู้ดูแลซุ้มกิจกรรมอยู่ประจำ เพื่อคอยให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจ นิทรรศการคนอื่นๆ ที่ไม่ได้เข้ามาร่วมชมในเวลาที่ทางผู้จัดกิจกรรมทำการแสดงสาธิต ยกตัวอย่างเช่น การแสดงโชว์การทอผ้า เมื่อหมดเวลาการแสดงโชว์แล้วผู้ที่ดำเนินการโชว์หรือผู้ให้ข้อมูลก็จะไม่อยู่ในบริเวณนั้น ทำให้ผู้ที่มาร่วมชมนิทรรศการภายในซุ้มที่มีการจัดแสดงการทอผ้าทำได้เพียงแค่มาชมนิทรรศการและอ่านข้อมูลผ่านภาพที่นำเสนอยู่ด้านหลังซุ้มเท่านั้น

 
  Home  |  About |  Partners  |  News Update  | Knowledge  |  Media & Download |  Activities  |  Volunteers  |  Contact     
 
   
ติดต่อกองเลขานุการจัดงานมหกรรมพลังเยาวชน พลังสังคม ครั้งที่ 2
โทรศัพท์: 02-544-3991 | โทรสาร. 02-544-3896  |   Email: scbfteam@gmail.com