HomeAbout |  PartnersNews UpdateKnowledge | Media & DownloadActivitiesVolunteersContact  
 
 
 
 
 
 
 

วงถอดบทเรียนและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาศักยภาพเด็กและชุมชน 9 โครงการ
ณ อาคารหอจดหมายเหตุ ชั้น 3 ห้องประชุม 1
วันที่ 7 พฤษภาคม 2554 เวลา 13.00-15.00 น.

วัตถุประสงค์
เพื่อเป็นการถอดบทเรียนของโครงการที่ได้รับทุนจาก สสส. เพื่อไปทำกิจกรรมกับเด็กและเยาวชน โดยมีการชี้แจงวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อหาที่มาของชุดโครงการ
2. การหาเครือข่ายในการทำงาน
3. การสนับสนุนโครงการในชุดติดตามการทำงาน การสร้างเครือข่าย
4. ความรู้ ประสบการณ์จากการบริหารชุดโครงการ
 
หลักคิด/ แนวความคิดของกิจกรรม
ใช้แนวคิดการจัดการความรู้ ด้วยการถอดบทเรียนร่วมกันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถึงการทำงานเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพเด็กและชุมชน ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สสส.
 
รูปแบบ/เนื้อหาหลัก
เป็นการพูดคุยถึงประสบการณ์การทำงานของผู้รับผิดชอบโครงการต่างๆ ที่ได้รับทุนจาก สสส. เพื่อทำงานเกี่ยวกับทางด้านเด็กและเยาวชน โดยแบ่งออกเป็นวงสนทนา 2 กลุ่ม คือ 1. ผู้รับทุน โดยโจทย์หลัก คือ ทำอย่างไรถึงจะบรรลุเป้าหมาย 2. กลุ่มผู้ปฎิบัติ โดยโจทย์หลัก คือ วิธีการในการบริหารจัดการอย่างไรทั้งคน/งบประมาณ/งาน
 
 
เครื่องมือ/กระบวนการนำเสนอ
วิทยากรได้แบ่งผู้ร่วมกิจกรรมเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้รับทุน และกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน ในส่วนของกลุ่มผู้ปฏิบัติงานนั้น วิทยากรได้ตั้งโจทย์ใหญ่ขึ้นหนึ่งโจทย์สำหรับให้ผู้ปฏิบัติงานได้ลองคิดถึงการทำงานของตนเองที่ผ่านมาในด้านการจัดการรวมถึงการหนุนเสริมต่างๆ โดยโจทย์ คือ การบริหารการจัดการ “คน-งาน-เงิน” โดยให้แต่ละกลุ่มมีเวลาคิดทบทวน และเมื่อครบเวลาที่กำหนดให้ ผู้ปฏิบัติแต่ละโครงการจะต้องนำเสนอผลการทบทวนตามโจทย์ที่วิทยากรให้ไว้ จากนั้น จะเป็นการพูดคุยสรุปในภาพรวมจากทั้ง 2 กลุ่มอีกครั้งหนึ่ง
 
ผลที่เกิดขึ้น
 
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 40 คน ประกอบไปด้วยตัวแทนจากกลุ่มต่างๆที่ได้รับทุนจาก สสส.ในการพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชน อาทิเช่น โครงการขยะรีไซเคิลแลกไข่ไก่, โครงการครอบครัวเข้มแข็ง, โครงการปันอิ่มเพื่อรอยยิ้มน้อง, โครงการเยาวชนคนยุติธรรม เป็นต้น ทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรมดังกล่าวเป็นอย่างดี ทั้งมีความสนใจในการฟังเป็นอย่างดีและมีการแลกเปลี่ยนความเห็นในกิจกรรมที่ทำกันเป็นระยะๆ ในระหว่างที่ตัวแทนโครงการมีการอธิบายถึงขอบเขต/วิธีการงานของตนเองทั้งนี้ อาจเป็นเพราะว่าทุกคนอยู่ในฐานะของผู้ปฏิบัติงานซึ่งต่างสะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างหลากหลายของพื้นที่ของตน จึงมีการซักถามแลกเปลี่ยนถึงการจัดการปัญหาที่แตกต่างกันออกไปของโครงการต่างๆ อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อจำกัดด้านการบริหารเวลา ทำให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มผู้ปฏิบัติและกลุ่มผู้รับทุน ไม่สามารถดำเนินการได้ตามที่ตั้งใจไว้
 
ข้อสังเกตเพิ่มเติม


- เวลาที่ค่อนข้างจำกัด ทำให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโครงการเกิดขึ้นไม่มากนัก รวมถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานของเยาวชน พบว่า เด็ก เยาวชนที่ร่วมโครงการและมางานนี้ด้วยนั้นมีโอกาสพูด เสนอความเห็นค่อนข้างน้อยมาก มาร่วมด้วยนั้นได้พูดเพียงเล็กน้อย
- เยาวชนผู้ปฏิบัติงานจริงซึ่งเป็นเด็กที่มีความรู้ ความสามารถและกล้าแสดงออก ควรจะมีเวทีสำหรับพวกเขาโดยตรงให้มีพื้นที่ในการทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนการทำงานกันเอง มากกว่าเป็นการนำเสนอของหัวหน้าโครงการ เช่น ครู อาจารย์ พระสงฆ์ ฯลฯ

 
  Home  |  About |  Partners  |  News Update  |  Media & Download  |  Activities  |  Volunteers  |  Contact     
 
   
ติดต่อกองเลขานุการจัดงานมหกรรมพลังเยาวชน พลังสังคม ครั้งที่ 2
โทรศัพท์: 02-544-3991 | โทรสาร. 02-544-3896  |   Email: scbfteam@gmail.com