เสวนาและฉายหนังสั้นผลงานเยาวชน (Bioscope) ช่วงที่ 1
ณ อาคารหอจดหมายเหตุ ชั้น 2 ห้องนิพพานชิมลอง
วันที่ 7 พฤษภาคม 2554 เวลา 9.00-12.00 น.

 
วัตถุประสงค์
เป็นการฉายหนังสั้นผลงานเยาวชนที่มาจากการอบรม 2 ครั้ง ที่มูลนิธิสยามกัมมาจลให้ทุน โดยกลุ่ม Bioscope เป็นผู้อบรมการทำหนังสั้นให้กับเยาวชน ในพื้นที่จังหวัดต่างๆ โดยเยาวชนที่มาส่วนใหญ่เป็นเยาวชนที่มีความสารถในแต่ละท้องถิ่น มาจากทั่วประเทศ กิจกรรมนี้เป็นการโชว์ผลงานครั้งแรกหลังผ่านการอบรม ในประเด็นเรื่องเยาวชนกับสิ่งแวดล้อม หรือที่เรียกกันในนามกลุ่ม RECOFTC
 
หลักคิด/ แนวความคิดของกิจกรรม
การฉายหนังสั้นครั้งนี้ เป็นการโชว์ผลงานความสามารถของเด็กและเยาวชนในพื้นที่ต่างๆ ที่มีความสนใจในเรื่อง การทำหนังสั้น สื่อเพื่อชุมชนและท้องถิ่น มีทั้งหมด 5 เรื่อง จากเยาวชน 5 กลุ่ม ที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าอบรมแล้ว และเป็นหนังที่ผ่านการคัดเลือกให้นำเสนอ
 
 
เครื่องมือ/กระบวนการนำเสนอ
เป็นการฉายหนังสั้นที่มาจากฝีมือการทำของเด็กและเยาวชน จำนวน 5 เรื่อง โดยแต่ละเรื่องมีเนื้อหาในประเด็นเดียวกัน คือ ประเด็น เยาวชนกับสิ่งแวดล้อม โดยเยาวชนแต่ละคนจะมาจากคนละพื้นที่ แบ่งเป็นภูมิภาคโดยส่วนใหญ่ จึงมีหนังสั้นที่มาจากภาคเหนือ อีสาน กลาง และภาคใต้ หลังหนังจบจะมีการอธิบายเกี่ยวกับประวัติ ที่มา และความสนใจ รวมทั้งแนวคิด และความยากง่ายของการทำหนังด้วย
 
ผลที่เกิดขึ้น
 
ผู้ชมส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเยาวชนที่ทำหนังสั้นด้วยกัน กลุ่มเยาวชนที่ได้รับการอบรมร่วมกัน นักข่าว บุคคลทั่วไป ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้าออก มีประมาณ 30-40 คน น้อยกว่ารอบการฉายหนังสั้นในประเด็นเรื่อเศรษฐกิจพอเพียง และจิตอาสา แต่จะมีหมุนเวียนเข้ามาเรื่อยๆ นับได้ว่าเป็นอีกกิจกรรมที่มีคนให้ความสนใจมาก โดยผู้ชมส่วนใหญ่มาจากหลายภูมิภาคจะตั้งใจชมตั้งแต่ต้นจนจบ เนื่องจากหนังสั้นที่นำเสนอเสนอภาษาถิ่น จะมีตัวอักษรแปล (subtitle) ให้ด้วย ทำให้ผู้ชมยิ่งต้องตั้งใจดูเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ กิจกรรมยังการเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้มีส่วนร่วม หลังจากจบการฉายหนังเรื่องนั้นแล้ว ได้ให้ผู้ทำหนังสั้นได้มาอธิบายแนวคิดของเรื่องที่ตนเองทำ แต่ส่วนใหญ่ ไม่ค่อยมีคนซักถาม แต่จะเป็นการปรบมือให้กำลังใจ และแสดงอาการตั้งใจชมอย่างสนใจ
 
ข้อสังเกตเพิ่มเติม

หนังแต่ละเรื่องที่นำเสนอมีความน่าสนใจในตัวเอง อีกทั้งภาษาที่ใช้ยังเป็นภาษาถิ่น ที่บางครั้งผู้ชมก็ฟังไม่ออก แต่ใช้การอ่านจากคำบรรยายแทน ซึ่งภาษาถิ่นที่ใช้ทำให้ได้อรรถรสในการชมหนังสั้นเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งในแต่ละพื้นที่ที่ถูกถ่ายทอดและนำเสนอผ่านการทำหนังสั้นของเยาวชนในท้องถิ่นนั้น โดยส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวสภาวะปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่แต่ละพื้นที่กำลังประสบอยู่ บ่งบอกได้ชัดเจนว่าเยาวชนกำลังสนใจปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น การที่เยาวชนตื่นตัวกับปัญหาเหล่า นี้เป็นสัญญาณที่ดีว่า สิ่งแวดล้อมจะถูกทำลายลดลง และคนก็หันมาอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากการถ่ายทอดเรื่องราวผ่านหนังสั้นของเยาวชนที่เห็นคุณค่าของท้องถิ่นด้านสิ่งแวดล้อม

 
 
  Home  |  About |  Partners  |  News Update | Knowledge |  Media & Download  |  Activities  |  Volunteers  |  Contact     
 
   
ติดต่อกองเลขานุการจัดงานมหกรรมพลังเยาวชน พลังสังคม ครั้งที่ 2
โทรศัพท์: 02-544-3991 | โทรสาร. 02-544-3896  |   Email: scbfteam@gmail.com